การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 9
"2 ทศวรรษของการปฏิรูปการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง: New Approaches After Covid-19"



      ในระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2566 สมาคมคณิตศาสตรศึกษา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ “2 ทศวรรษของการปฏิรูปการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง: New Approaches After Covid-19” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในรูปแบบไฮบริด การจัดประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดประชุมจากสมาคมคณิตศาสตรศึกษา ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

      ใในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และนักศึกษา จำนวน 376คน โดยแบ่งเป็น ออนไซต์ 304 คน ออนไลน์ 72 คน และมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอจำนวน 36 ผลงาน ได้แก่ การนำเสนอแบบบรรยาย จำนวน 9 ผลงาน และการนำเสนอแบบโปสเตอร์ จำนวน 27 ผลงาน พิธีเปิดงานเริ่มในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 โดย รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูแห่งอาเซียน ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์การจัดการจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงปัจจุบันครั้งที่ 9 จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จึงขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ได้เป็นเจ้าภาพสนับสนุนบุคลากร สถานที่จัดการประชุม วัตถุประสงค์การจัดการประชุม คือการส่งเสริมการศึกษาและความร่วมมือทางคณิตศาสตรศึกษา โดยให้พื้นที่กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาของประเทศไทย
      รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และขอบคุณสมาคมคณิตศาสตรศึกษาที่ให้เกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 9 นี้ ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยทีมงานของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก็ได้รับมอบหมายภารกิจในการเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกับทางสมาคมคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีบทบาทสำคัญในการผลิตและพัฒนาครู ได้รับการยอมรับในคุณภาพผ่านตัวชี้วัดคือการสอบบรรจุครู และเรามีโอกาสให้กำลังใจตรวจเยี่ยมเขตพื้นที่ต่างๆ ใน จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง และได้ทำงานร่วมกับสมาคมคณิตศาสตรศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดย ดร.ทองอุ่น มั่นหมาย เป็นผู้เชื่อมประสานนำโครงการต่างๆ เข้าสู่หลักสูตร เชื่อมกับเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ ซึ่งได้การประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นเขตพื้นที่นวัตกรรม และโครงการพัฒนาการคิดคณิตศาสตร์ขั้นสูงได้ เป็น 1 ใน 8 นวัตกรรมของเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมุ่งหมายที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และเอกชน อีกหลายหลายสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอบคุณมหาวิทยาลัยเครือข่าย ผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านวิทยากร ผู้นำเสนอผลงาน ผู้เข้าร่วม ผู้มีส่วนร่วมทุกคน บุคลากรครุศาสตร์ คณะพยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ทุกท่านที่สนับสนุน หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะสามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไปด้วยกัน จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ชายแดนติดต่อกับทางกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมขอมโบราณไปสู่การดำเนินชีวิตของ 4 ชนเผ่าไทย ลาว เขมร ส่วย เยอ จนเป็นที่มาของการแสดงการแสดง “กมรเตงชคตะ ศรีพฤทเธศวร” และเรายังมีอารยะธรรมโบราณสถานอีกมากมาย ถ้ามีเวลาก็ขอเชิญชมตามอัธยาศัย ขออวยพรให้กิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายทุกประการ
      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภวรรณ ชาติมนตรีคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ขอบคุณท่านนายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา อุปนายกสมาคม กรรมการสมาคม มหาวิทยาลัยเครือข่าย ขอบคุณท่านอธิการบดีที่มอบหมายให้เป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมงานครั้งนี้ ขอบคุณท่านคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ให้ความสะดวกสถานที่และบุคลากร ขอบคุณทีมงาน ดร.ทองอุ่น ทีมงานนักศึกษา ป.ตรี และผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน ขอให้ผู้เข้าร่วมทุกคน
      1) การบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตรศึกษาต่างประเทศ ในปีนี้เป็น รำลึกถึงคุณูปการทางด้านการศึกษาของ Prof. Shizumi Shimizu และการเรียนรู้จากการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ปัญหาและแนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาภาคบังคับ” โดย Prof. Shizumi Shimizu อดีตนายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา ประเทศญี่ปุ่น แปลโดย อาจารย์อรรค อินทร์ประสิทธิ์
      2) การเสวนาด้านคณิตศาสตรศึกษา หัวข้อ “2 ทศวรรษของการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง: New Approaches After Covid-19” ผู้ร่วมเสวนา
      (1) รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน (2) รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ทองแจ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.เอนก สุดจำนงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      3) การเสวนา เครือข่ายคณิตศาสตรศึกษา หัวข้อ “TLSOA นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด: พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox)” ผู้ร่วมเสวนา (1) นายพล สำลี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน รุงสมบูรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ (2) ครูนาเดอร์ อูซิน ครูโรงเรียนบ้านกะรุบี จังหวัดปัตตานี (3) นางสาวจิดาภา จันทร์เพ็ง ครูโรงเรียนบ้านโคกสีวิทยาเสริม จังหวัดขอนแก่น (4) อาจารย์ ดร.ทองอุ่น มั่นหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.อาริยา สุริยนต์ มหาวิทยาลัยนครพนม
      4) TSMEd Night การเสวนานักศึกษาจากสถาบันผลิตครู หัวข้อ “ความเข้าใจคณิตศาสตรศึกษาจากมุมมองในฐานะที่เป็นนักเรียนกับมุมมองในฐานะที่เป็นนักศึกษาครู” ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.พิมพ์ผกา อินทะรส มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อาจารย์ ดร.กาญจนา เวชบรรพต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
      5) การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentation) และแบบโปสเตอร์
      6) การเปิดชั้นเรียน (Open Class) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่ ครูผู้สอน นางสาวธนพร ไพบูลย์โรจน์รุ่ง ครูโรงเรียนบ้านโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
      7) การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “TLSOA นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” โดย รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา รองอธิการดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน
      5) การเปิดชั้นเรียน (Open Class) วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 สอนโดย ครูจงรักษ์ เขื่อนคำ โรงเรียนแจ้คอนวิทยา
      6) การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “2 ทศวรรษของการปฏิรูปการเรียนรู้สู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง : เหลียวหลัง แลหน้า เพื่อการปฏิบัติในชั้นเรียน (Rethinking for Classroom Practices)” โดย รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์